เรื่องเล่าจากเกาหลี


โดย พญ.วิเวียน คลังบุญครอง
IR fellow, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

International Intensive Course for Interventional Radiology หรือชื่อย่อคือ "IICIR 2011" เป็น short intensive course สำหรับกลุ่ม young interventionist program นี้จะจัดขึ้นที่ประเทศเกาหลี ระหว่างวันที่ 14-18 กพ. 2554 จัดขึ้นโดยความร่วมมือของ Korean Society of Interventional Radiology, Seoul National University Hospital และ Asia Pacific Society of Cardiovascular & Interventional Radiology (APSCVIR) โดยผู้สนับสนุนหลักของการประชุมคือบริษัทcook จากที่ผู้เขียนได้ทราบมา แรกเริ่มเดิมทีนั้นโครงการนี้จัดเพื่อรังสีแพทย์จากประเทศจีนโดยเฉพาะเพื่อการรักษาและใช้อุปกรณ์อย่างถูกต้อง ต่อมาโครงการนี้ได้รับความสนใจจากประเทศอื่นๆในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงได้มีตัวแทนจากประเทศต่างๆร่วมด้วย เนื่องจากเป็นcourseที่เน้นการใช้อุปกรณ์เครื่องมือ courseนี้จึงมีจุดเด่นที่ hands-on workshop ดังนั้นจึงต้องจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมประชุม ในปีที่ผ่านๆมาประเทศไทยได้โควต้าปีละ 2 ที่ แต่ปีนี้โชคดีค่ะ หมอมาเลเซียได้สละสิทธิ์ เราจึงได้โควต้ามา 3 ที่ ดังที่กล่าวมา จุดประสงค์หลักของcourseนี้เพื่อการรักษาและใช้อุปกรณ์อย่างถูกต้อง แต่ยังมีอีกจุดประสงค์หลักที่สำคัญคือ การพบปะรู้จักเพื่อนใหม่จากประเทศอื่นๆมากขึ้น ในการไปประชุมครั้งนี้ ผู้ร่วมเดินทางและสร้างประสบการณ์ร่วมกันมีทั้งสิ้น 3 คนคะ คือ พญ.เอกอนงค์ F2 จากจุฬา, พญ.อาริยา และ พญ.วิเวียน F1 จากศิริราช (ผู้เขียน)

วันแรกที่ไปถึง พอก้าวเท้าออกจากสนามบินก็พบกับอากาศที่หนาวเย็น แอบดูอุณภูมิที่ล๊อบบี้โรงแรมทุกวัน ก็จะอยู่ในช่วง -7 – 2 OC คะ แต่ไม่ว่าอากาศจะหนาวยังไง เราก็ยังสนุกกับการ shopping อุ้ย! ไม่ใช่สิ sight seeing ได้ทุกวันคะ การเรียนการสอนจะเริ่มตั้งแต่ 9.00 – 17.30 ทุกวัน จันทร์ถึงศุกร์ โดยนั่งรถบัสจากโรงแรมไปเรียนที่โรงพยาบาล SNUH แต่ละวันจะสอนตามหัวข้อหลัก ดังนี้ embolotherapy/Transcatheter Management of Hepatic Tumors, Vascular imaging/Arterial Intervention, Venous Intervention, Portal Hypertension Management, Hands-on Workshop, Ablation Therapy/Billiary, GI, GU, Intervention โดยมีทั้งหมดประมาณ 30 หัวข้อเรื่อง แต่ละหัวข้อจะสอนหัวข้อละ 30 นาที โดยที่ผู้สอนส่วนใหญ่เป็นstaffของทางเกาหลีค่ะ ในส่วนของเนื้อหาจะเน้นความรู้พื้นฐาน Speaker จะเป็นผู้เชี่ยวชาญในแต่ละเรื่องนั้นๆ และมีผลงาน research ในหัวข้อนั้นมาแสดงให้ทราบด้วย
 

วันพุธบ่าย เป็น freetime แต่เนื่องจาก พี่เอกอนงค์ได้รับคำเชิญจาก Prof. Kyu-Bo Sung (อาจารย์ชาวเกาหลีที่มาสอนพวกเราครั้งที่ประชุมที่เขาใหญ่ไงคะ) ให้ไปเยี่ยม ASAN Hospital ค่ะ พวกเราทั้งสองจึงขอติดสอยห้อยตามไปดูด้วย Asan Hospital เป็นโรงพยาบาลที่ใหญ่และมีชื่อเสียงทางด้าน liver transplant โดยเค้าทำliver transplant กัน ปีละ ประมาณ 360 case หรือเรียกได้ว่า วันละ case ค่ะ ห้องangiogram suitมีทั้งหมดรวม 9 ห้อง แบ่งเป็น body intervention 7 ห้อง และ neurointervention 2 ห้อง ในหนึ่งวันมีcaseรวมประมาณ 60-70 case ใช้เวลาเปลี่ยนคนไข้ออกจากห้อง angiogram 15 นาทีต่อcase มีfellowทั้งหมด 3 คน ในวันนั้นได้ไปเห็นหัตถการ TACE, trans arterial chemoinfusion, IVC stent, PVE โดยใช้ GelfoamและAmplazer, PICC line ทางสมาคมรังสีหลอดเลือดของประเทศเกาหลีใต้ได้จัดงานเลี้ยง 2 วัน คือ งานเลี้ยงต้อนรับ ซึ่งทุกคนจะต้องลุกขึ้นยืนแนะนำตัว ว่าชื่ออะไร เป็นใคร มาจากไหน และ กล่าวอะไรอีกเล็กน้อย ส่วนงานเลี้ยงวันสุดท้าย จะต้องมีการแสดงสั้นๆจากแต่ละประเทศ ซึ่งเราทั้ง 3 คนไม่ทราบมาก่อน ได้มานั่งคิดกันคืนวันพฤหัส พอดีเพื่อนชาวสิงคโปร์แนะนำให้เลือกเพลงที่เด็กๆร้องเหมือนเค้า (เค้าเลือกเพลง Oh Mc Donald) พวกเราจึงลงตัวกันที่เพลง "ช้าง" ซึ่งเป็นสัตว์ประจำชาติของเรานั่นเอง หลังจาก search หาท่าเต้นเพลงช้างทาง youtube เรียบร้อยแล้ว การแสดงก็พร้อมค่ะ เรียกรอยยิ้มจากท่านผู้ชมได้ดีทีเดียว ส่วนประเทศไหนที่มาเดี่ยว เช่น เวียดนาม ก็จะมีเพื่อนๆประเทศอื่นๆมาช่วยยืนร้องเพลงด้วยกัน ระหว่างงานเลี้ยงได้มีโอกาศคุยกับเลขาของสมาคม Korean intervention radiology ซึ่งได้ฝากบอกว่ายินดีต้อนรับแพทย์ไทยทุกคนค่ะ เป็นงานเลี้ยงที่จบอย่างประทับใจและสนุกสนานค่ะ การไปประชุมครั้งนี้ได้ช่วยให้เข้าใจ basic ของการรักษาในบางเรื่องมากขึ้น อีกทั้งยังได้เรียนรู้การใช้เครื่องมือ, เทคนิคของอุปกรณ์ และ เทคนิคการใช้เวชภัณฑ์ทางการแพทย์ต่างๆ ทั้งที่เคยรู้จักและไม่เคยรู้จัก โดยเฉพาะวัน hands-on workshop ที่นับว่าเป็นประโยชน์มากๆค่ะ รวมทั้งยังได้เพื่อนใหม่ในวงการ intervention มากขึ้นค่ะ นอกจากนี้ยังมีประสบการณ์ที่สร้างความตื่นเต้นให้เรา3คนมาก คือ ในเที่ยวบินขากลับ มีคุณป้าชาวเกาหลีเป็นลม เราทั้ง3คนจึงต้องไปช่วยกัน resuscitate โชคดีที่บนเครื่องบินมีพยาบาล 2 คน เนื่องจากคุณป้าและคุณลุงไม่เข้าใจภาษาอังกฤษเลย BPและOxygen saturation drop เราต้องช่วยกันสื่อสาร ช่วยกันค้นกระเป๋าemergencyของการบินไทย และ เปิดเส้นให้ IV ไหนจะต้องรื้อฟื้นความทรงจำเรื่องการ CPR ขึ้นมา แต่ก็รู้สึกอุ่นใจค่ะ ที่เรามีกันตั้ง3มันสมอง ดังนั้น เรา เอ้ย! ไม่ใช่สิ คุณป้ารอดแน่ๆค่ะ แล้วก็จริงค่ะ คุณป้าอาการดีขึ้นเรื่อยๆ เฮ้อ! ไม่เคยขึ้นเครื่องบินแล้วเครียดขนาดนี้มาก่อนเลยค่ะ โชคดีจริงๆคะ

อย่างไรก็ตามก็ถือว่าได้ประสบการณ์มากมายจริงๆค่ะ และถ้าผู้อ่านท่านใดสนใจสามารถเข้าไปดูรายละเอียดของ IICIR ได้ใน "http://www.intervention.or.kr/eng.iicir.html" http://www.intervention.or.kr/eng.iicir.html สำหรับ Asan Hospital สามารถไปสมัคร elective ได้ค่ะ เค้ามีทั้งทุนและที่อยู่ให้ค่ะรายละเอียดสามารถดูได้ใน http://eng.amc.seoul.kr/ (อ.ชูศักดิ์แอบกระซิบมาคะว่า ที่ Asan เค้าชอบคนไทยมากๆคะ )
สุดท้ายนี้ขอขอบคุณ
TSVIR
APSCVIR
KSIR
Professor Jae Hyung Park, Seoul National University
Professor Do Yun Lee, Yonsei University College of Medicine
Professor Kyu Bo Sung, Asan Medical Center
Professor Je Hwan Won, Secretary General, KSIR
Professor Sung Bum Cho, College of Medicine, Korea University
Dr. Hwan Jun Jae, Seoul National University Hospital
Dr. Gi-Young Ko, Asan Medical Center
Micheal K.S. Lim (Asia Pacific SBU manager)
Young-Rok Han (North East Asia Regional manager)
Suck-Jin Hong (Cook Medical Korea)
COOK MEDICAL THAILAND
ผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิงอัญชลี ชูโรจน์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ชูศักดิ์ สิริวณิชชัย และ อาจารย์นายแพทย์ธนพ ศรีสุวรรณ ที่ให้โอกาสได้เขียนบทความนี้ลงวารสารค่ะ